Search

ชาวสวนบันนังสตา ทดลองติดไฟสีส้มไล่ผีเสื้อ ตัดวงจรหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน - ไทยรัฐ

manufacturefrew.blogspot.com

เกษตรกรชาวสวนทุเรียน ที่อ.บันนังสตา ปิ๊งไอเดียแก้ปัญหาหนอนเจาะทุเรียน โดยการติดไฟ LED สีส้มไล่ผีเสื้อกลางคืน ตัดวงจรหนอนผีเสื้อเจาะเมล็ดทุเรียน ชี้กำลังทดลองโดยได้ผลดี แถมยังไม่ทำลายธรรมชาติ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สวนทุเรียนในหมอก สวน สว่าง หมู่ที่ 2 บ้าน กม.26 ใน ต.ตะเน๊าะปูเตะใน อ.บันนังสตา จ.ยะลา นายสว่าง เกษตรกรชาวสวนทุเรียน ปิ๊งไอเดีย ติดตั้งหลอดไฟแบบ LED แสงสีส้ม ภายในสวนทุเรียนของตนเอง ท่ามกลางบรรยากาศกลางหุบเขาในพื้นที่ ต.ตะเน๊าะปูเตะใน อ.บันนังสตา เพื่อไล่ผีเสื้อกลางคืน ตัดวงจรหนอนผีเสื้อ ที่ทำลายผลทุเรียน ในช่วงที่ผลทุเรียนแก่จัด ใกล้สุก เตรียมตัดผลส่งขายท้องตลาด นายอนุชา จูวัตร์ เกษตรอำเภอบันนังสตา พร้อมด้วยนายสุทธิพงศ์ ทองบุญ นักวิชาการส่งเสริมเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลาได้ลงพื้นที่สวนทุเรียน เพื่อตรวจดูการบริหารจัดการของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ในพื้นที่

โดยที่ผ่านมาพบว่า การปลูกทุเรียนในพื้นที่ อ.บันนังสตา ส่วนใหญ่สวนทุเรียนของเกษตรกรในพื้นที่ มีพื้นที่ปลูกในพื้นที่ราบสูง พื้นที่ภูเขา การบริหารจัดการทุเรียนเป็นเรื่องที่ยาก โดยเฉพาะเรื่องของศัตรูพืช โดยเฉพาะทุเรียนหนอนรู ซึ่งเป็นปัญหาของเกษตรกรชาวสวนทุเรียน ในแต่ละปี ผลผลิตของเกษตรกรได้รับเสียหาย ทำให้ไม่ได้ราคา กลุ่มเกษตรกรจึงคิดค้นหานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อหาวิธีในการแก้ไขปัญหา โดยการติดตั้งระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ติดหลอดไฟ LED แสงสีส้ม บนต้นทุเรียน เพื่อไล่แมลง ตัดวงจรหนอนผีเสื้อวางไข่ ขณะที่ทุเรียนเริ่มติดผล ขนาดเท่าลูกปิงปอง

ด้าน นายจรัญ ศักดิมาตร ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2 บ้านตะเน๊าะปูเตะใน เปิดเผยว่า หมู่บ้าน กม.26 ใน ต.ตะเน๊าะปูเตะใน อ.บันนังสตา จ.ยะลา เป็นเกษตรแปลงใหญ่ในพื้นที่บันนังสตา มีการบริหารจัดการทุเรียน ประชุมกันทุกเดือน มีการถ่ายทอดความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ย การตัดเแต่งกิ่งทุเรียนทุกระยะของผลผลิตทุเรียน ด้านหลังที่เห็นจะเป็นไฟสีส้ม ติดบนต้นทุเรียน ใช้สำหรับไล่แมลง ไอเดียเกิดจากกลุ่มชาวบ้านที่ปลูกทุเรียนริมทางถนนในหมู่บ้าน สังเกตุพบว่าทุเรียนที่อยู่ใกล้เสาไฟส่องสว่าง ผลทุเรียนไม่มีหนอนรู จึงได้ทดลองใช้หลอดไฟสีส้มติดในแปลงทุเรียนของตัวเอง

ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2 บ้านตะเน๊าะปูเตะใน กล่าวต่อว่า วิธีนี้ชาวสวนที่นี่ลองผิดลองถูกหลายครั้ง เริ่มแรกใช้หลอดแบล็กไลน์ (แสงสีม่วง) ก็กลับกลายเป็นการล่อแมลง และ ผีเสื้อกลางคืนจะบินเข้ามาในสวนทุเรียน จากนั้นทดลองใช้น้ำส้มควันไม้ และล่าสุดใช้ยาเส้นผสมน้ำสมสายชู ปรากฎว่าไม่ได้ผล ส่วนสารเคมี ที่นี่ไม่ได้ใช้เพราะเป็นหมู่บ้านต้นน้ำ ดังนั้นจึงใช้หลอดไฟสีส้ม เมื่อปีที่ผ่านมา มีเกษตรกรชาวสวนทุเรียนทดลองใช้ ทุเรียนในแปลงหลังจากติดหลอดไฟสีส้ม ผลผลิตทุเรียน 1 ตัน เสียหายจากการเป็นทุเรียนหนอนรู ประมาณ 2-3 ลูก

นายจรัญ กล่าวอีกว่า สมัยก่อนที่ไม่มีการติดไฟให้ต้นทุเรียน พบว่าผลผลิตทุเรียน 1 ตัน เจอความเสียหายจากหนอนรู ประมาณ 500 ก.ก. หรือ เท่ากับครึ่งต่อครึ่ง เป็นปัญหาหลักของเกษตรกรชาวสวนในพื้นท่ี ปัจจุบันราคาทุเรียนดี เกษตรกรที่ใช้การติดหลอดไฟไล่แมลงในสวนทุเรียนของที่นี่ ประมาณ 13 ราย ส่วนเกษตรกรที่ยังไม่เข้าร่วมได้มาขอคำปรึกษา เพื่อจะลองติดหลอดไฟสีส้มด้วย สอบถามถึงกระบวนการและขึ้นตอนการดำเนินการติดตั้ง

ขณะที่ นายสว่าง นุโรจ เจ้าของสวนทุเรียนในหมอกสวน สว่าง เปิดเผยว่า ต้นทุนการติดหลอดไฟแสงสีส้มในสวนทุเรียนของตนเอง บนพื้นที่กว่า 8 ไร่ ทั้งสายไฟ วงจรเปิดปิดอัตโนมัติ ทั้งสวนประมาณหมื่นกว่าบาท ส่วนหลอดไฟเป็นหลอด LED แสงสีส้ม ประมาณ 3,000 บาท ค่าไฟเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 300-400 กว่าบาท การตั้งเวลาเปิดปิด ตั้งแต่ช่วงค่ำ เวลา 17.00 น.- 06.00 น. เฉลี่ยรายได้จากปีที่ผ่านมาของแปลงนี้ ผลผลิตอยู่ที่ 700,000 บาท ส่วนปีนี้ผลผลิตน้อยกว่าปีที่ผ่านมา คาดว่าเฉลี่ยรายได้อยู่ที่ 400,000 บาท บวกลบต้นทุน คุ้มกับการลงทุนติดตั้งหลอดไฟแสงสีส้ม ส่วนคุณภาพทุเรียน เสียหายจากหนอนรูน้อยมาก

นายอนุชา จูวัตร์ เกษตรอำเภอบันนังสตา กล่าวว่า การใช้หลอดไฟแสงสีส้มไล่แมลง ถือเป็นแห่งแรกในพื้นที่จังหวัดยะลา ในอนาคตการดำเนินงานส่งเสริมในระบบแปลงใหญ่ มีการประชุมติดตาม อบรม การประเมินผล และจะนำเรื่องของการใช้หลอดไฟแสงสีส้ม ไปขยายผลต่อ ว่ามีปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง จากการพูดคุยสอบถามผู้ที่ใช้ไฟ พบว่าได้ผล

เกษตรอำเภอบันนังสตา กล่าวอีกว่า สำหรับลักษณะของการติดไฟสีส้มนี้ จะติดเว้นระยะต้น และจะเพิ่มปริมาณติดตั้งทุกต้นภายในสวน ทั้งนี้เรื่องของการใช้ไฟจะไปขยายผลอย่างรวดเร็วไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องใหม่ เป็นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งจะนำผลการทดลองรายงานผล ส่งไปยังส่วนกลางเพื่อศึกษาและวิจัยต่อไป ว่าได้ผลอย่างไร ทั้งนี้สำหรับเกษตรกรในพื้นที่ที่สนใจ ต้องมีความพร้อมและความสมัครใจเท่านั้น ที่จะเรียนรู้และทดลองในสวนของตนเอง กับการติดหลอดไฟแสงสีส้มในสวนทุเรียน ช่วงกลางคืน

ส่วน นายสุทธิพงศ์ ทองบุญ นักวิชาการส่งเสริมเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า สาเหตุของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน เกิดจากผีเสื้อกลางคืน มาวางไข่ในผลทุเรียน ขณะที่ลูกทุเรียนยังเล็ก หนอนเจาะเข้าไปในผลทุเรียน เจริญเติบโตเป็นตัวหนอน เป็นดักแด้แล้วหล่นลงดิน หนอนมีวงจรชีวิตวนเวียนกับทุเรียน ดังนั้นถ้าเราเข้าใจและรู้วงจรชีวิตของหนอนผีเสื้อ มีวิธีการป้องกัน คือ การล่อหรือไล่ตัวเต็มวัย แสงสีส้มจะเป็นวิธีการไล่ผีเสื้อตัวเต็มวัย เพื่อไม่ให้มาวางไข่ในสวนทุเรียน โดยปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคและเกษตรกรชาวสวน และสภาพแวดล้อม รวมทั้งไม่ทำลายธรรมชาติ.

อ่านเพิ่มเติม...




July 25, 2020 at 11:13PM
https://ift.tt/2WVe81H

ชาวสวนบันนังสตา ทดลองติดไฟสีส้มไล่ผีเสื้อ ตัดวงจรหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน - ไทยรัฐ

https://ift.tt/3cQTmFE


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ชาวสวนบันนังสตา ทดลองติดไฟสีส้มไล่ผีเสื้อ ตัดวงจรหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.